วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วัน ศุกร์ ที่ 19 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556



บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 6
วัน ศุกร์ ที่ 19  เดือนกรกฎาคม    พ.ศ.2556


แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา
- ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยของภาษา
- การประสมคำ
- ความหมายของคำ

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบข้าง
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง

หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
1. การจัดสภาพแวดล้อม
        - หนังสือที่ใช้  จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบรูณ์ในตัว
        - เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
       - เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
       - เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาศ
3. การเป็นแบบอย่าง
      - ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
4. การตั้งความคาดหวัง
     - เด็กสามารถอ่าน  เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5. การคาดคะเน
     - เด็กมีโอกาศที่จะทดลองกับภาษา
    - เด็กได้คาดเดา
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
    - ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
    - ตอบสนองเด็กให้เหมาะกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
    - ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
    - เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
    - ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยในการใช้ภาษา
    - เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามารถ

       บทบาทครู  (นิรมล   ช่างวัฒนชัย, 2541)
- ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนในการอ่าน การเขียน
- ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
- ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์



วัน ศุกร์ ที่ 12 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556



บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 5
วัน ศุกร์ ที่ 12  เดือนกรกฎาคม  พ.ศ. 2556

           วันนี้อาจารย์ให้วาดรูปสิ่งที่รักที่ชอบที่สุดในสมัยอนุบาลและให้ออกไปพูดหน้าชั้นเรียนเพราะเหตุผลอะไร    และอาจารย์ได้สอนเรื่อง องค์ประกอบของภาษา


นี่คือ "ขวดนม"สิ่งที่ฉันรักฉันชอบที่สุด




            เรื่อง องค์ประกอบของภาษา
1.    Phonology  ( เสียง )
          -  ระบบเสียงของภาษา          -   เสียงที่เปล่งออกมา เพื่อสื่อความหมาย          -   หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา2.    Semantic  ( ความหมาย )
          -   ความหมายของภาษา และ คำศัพท์          -   คำศัพท์บางคำสามารถมีไหลายความหมาย          -   ความหมายเหมือนกัน แต่คำศัพท์ต่างกัน3.    Syntax  ( ไวยากรณ์ )
          -   รูปแบบไวยากรณ์          -   การเรียงรูปประโยชน์4.    Pragmatic ( การนำไปใช้ )
          -  ระบบการนำไปใช้

          -  ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์ และ กาลเทศะ
            
            แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
     - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
     - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน




วัน ศุกร์ ที่ 5 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556



บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 4
วัน ศุกร์ ที่ 5  เดือนกรกฎาคม  พ.ศ. 2556



                         วันนี้อาจารย์ได้ให้พรีเซนต์งานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายแต่ล่ะกลุ่ม  ส่วนกลุ่มของดิฉันได้หัวข้อเรื่อง องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา  เนื้อหาคราวๆของกลุ่มดิฉันมีดังนี้


ภาษา มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

  1. เสียง  ประกอบด้วยเสียงสระ  เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น ภาษาบาลี สันสกฤษ เขมร อังกฤษ

 2. พยางค์และคำ  พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ มีความหมายหรือไม่มีก็ได้  ส่วนคำจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้

3. ประโยค เป็นการนำเอาคำมาเรียงกันตามโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตามระบบของหลักไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ

4. ความหมาย โดยความหมายของคำแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
          4.1  ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง  เป็นความหมายของคำนั้นๆเป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน
         4.2  ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา  เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายนัยตรง





วัน ศุกร์ ที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2556


บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 3
วัน ศุกร์ ที่ 28  เดือนมิถุนายน   พ.ศ. 2556


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องด้วยมีกิจกรรมการรับน้องมหาวิทยาลัย


ภาพจากกิจกรรมรับน้อง สาขาการศึกษาปฐมวัย











วัน ศุกร์ ที่ 21 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2556


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วัน ศุกร์ ที่่ 21 เดือนมิถุนายน  พ.ศ.2556


               วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง ความหมายของภาษา  ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก  และภาษาได้บอกถึงหลายๆอย่าง
                 ความสำคัญของภาษา
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจ
4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
               
                 ทักษะทางภาษา  ประกอบด้วย
-การฟัง
-การพูด
-การอ่าน
-การเขียน
ทฤษฎีพัมนาการทางสติปัญญาชอง  Piaget
การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา

                  กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย  2  กระบวนการ  คือ
1. การดูดซึม 
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่

       Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส
2.ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล
3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม

                    พัฒนาการภาษาของเด็ก
   เด็กค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจเป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบเด็กใช้คำศัพท์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก


ยายมีเลี้ยงหอย           ยายมอยเลี้ยงหมี
                                                หอยของยายมี            กัดหมีของยายมอย
ขนหมีของยายมอย   ติดที่ปากหอยของยายมี





วัน ศุกร์ ที่ 14 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2556


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1
วัน ศุกร์ ที่ 14  เดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2556



                      วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่่องความหมายของประสบการณ์ภาษาว่าการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจก่อนว่าการจัดประสบการณ์มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน   และสอนเรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยให้แตกแขนกเป็นหัวข้อย่อยๆและให้ทำ  Mind   Maps  ให้แยกแต่ละส่วนของการจัดประสบการณ์ทางภาษา  เพื่อเป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา อาจารย์ก็ได้ให้ทำ   Mind  Maps  เป็นกลุ่ม แบ่งกลุ่มละ 4 คน  และกลุ่มของดิฉันก็ได้แตกแยกเป็นหัวข้อย่อย 4 หัวข้อ  ได้ขยายแต่ละหัวข้อให้ได้รายละเอียดและเรื่องสุดท้ายของวันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องการทำ Blogger  ได้สอนวิธีทำบล็อกเป็นขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย  แล้วอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาแต่ละคนได้ไปสร้าง Blogger เป็นของตัวเอง





      

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนะนำตัวเอง


จะมาแนะนำให้คุณครูรู้จักเด็กคนนี้


          ฉันชื่อนางสาวสิริโฉม   เกตหา  ทุกคนต่างเรียกฉันว่า "จุ๋มจิ๋ม"  ฉันเกิดวันที่ 15 เดือน มกราคม  2536  อาศัยและเติบโตอยู่ที่บ้านเลขที่  78/2  หมู่5    ตำบลตรึม  อำเภอศีขรภูมิ    จังหวัดสุรินทร์   ฉันเติบโตมาจากครอบครัวที่แสนอบอุ่นรอบบ้านของฉันแวดล้อมไปด้วย  ต้นไม้  ป่าไม้   สระน้ำ   ฉันอาศัยอยู่กับพ่อแม่และตายาย  พี่สาว  น้องชาย   ของฉันในบ้านหลังเล็กๆหลังนี้  บ้านและครอบครัวของฉันคือสิ่งที่ฉันรักมากที่สุด  ฉันจะเป็นเด็กขี้แยและฉันยังเป็นเด็กที่ร้องไห้เสียงดังตลอดเวลาฉันเป็นเด็กที่ซุ่มซ่ามอย่างมาก  ฉันเป็นเด็กที่พูดมากและเสียงดังมาก

งานกลุ่ม: การจัดประสบการณ์ทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย





แบบบันทึก วัน ศุกร์ที่14 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2556





แบบบันทึก